วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โมกขธรรม

บุญนิธิอันบวร จิตสังวรโพชฌงค์เพียร
จิตสัมมา ทิฐิอย่าเพี้ยน ร่ำเรียนธรรมรู้ชีวิตแท้พุทธา
อสงไขยกาลเวลา เกิดตายมาเวทนา
อวิชชา กิเลสแน่นหนา แจ้งปัญญาสัมปทาจริงอนัตตา
สัปปุริสธรรม เข้าใจได้แตกฉาน
โมกขธรรมมรรคาเดินมุ่งมั่น
ศานตรสว่างวาง ในวิจิกิจฉา
ตื่นจากความขลาดเขลาอภิชฌา พ้นคืนเบื้องบน
อริยทรัพย์หมั่นสั่งสม ไร้ยึดครอง เปลื้องในเวรกรรมคลี่คลาย


พุทธโอวาท : พระอาจารย์จี้กง
ทำนองเพลง : นกไร้ปีก


อธิบายศัพท์
บุญนิธิ =  บุญคือขุมทรัพย์
บวร =  ประเสริฐ ล้ำเลิศ
สังวร = ความสำรวม
โพชฌงค์ = ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ มี 7 อย่าง ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปิติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา
สัมมาทิฐิ = ความเห็นอันเที่ยงตรง ถูกต้อง
อสงไขย = มากจนนับไม่ถ้วน
อวิชชา = ความไม่รู้จริง ไม่รู้ในหนทางการรู้แจ้ง
สัมปทา = ความถึงพร้อมด้วยความดี
อนัตตา = ไร้ตัวตน
สัปปุริสธรรม = ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของคนดี มี ๗ อย่างคือ ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล
โมกขธรรม = ธรรมะนำสัตว์ให้พ้นกิเลส
มรรคา = หนทาง
ศานตรส = อ่านว่า สาน-ตะ-รัด แปลว่า ความสงบจิต
วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย
อภิชฌา = ความโลภ อยากได้ของผู้อื่น
อริยทรัพย์ =ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่นเงินทอง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น